newenvironment สร้างความงามให้กับหนังสือ
เคยเห็นในหนังสือเรียนประเภทตำราที่พิมพ์ขายกันไหมครับว่าเขาจะมีการจัดรูปแบบของ ตัวอย่าง ทฤษฏีบท ฯลฯ ให้มีความแตกต่างจากเนื้อหาปกติ เพื่อทำให้ส่วนนั้น ๆ ดูเด่นขึ้นมา ใน LaTeX ก็มี environment ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรง โดยค่าตั้งต้นจะมีแค่เน้นคำว่า ตัวอย่าง ให้เป็นตัวหนา และตัวเนื้อความเป็นตัวเอียง ซึ่งสำหรับเอกสารทั่วไปก็ใช้ได้ แต่ในหนังสือเรียนที่ต้องมีการแยกตัวเนื้อหากับตัวอย่างโจทย์ออกจากกันนั้น ในการเรียงพิมพ์เอกสารคงต้องมีลูกเล่นมากกว่านั้น สำหรับโรงพิมพ์คงจะจัดเรียงพิมพ์ได้ไม่ยากอะไร แต่สำหรับบุคคลทั่วไปแล้วหล่ะ ถ้าต้องการทำเองจะทำอย่างไร เข้าใจว่าในโปรแกรมจำพวก word เราสามารถตกแต่งเอกสารได้ตรง ๆ ผมไม่รู้ว่ามีการทำเป็นรูปแบบเฉพาะแล้วมาเรียกใช้ภายหลังเพื่อให้รูปแบบคงเส้นคงวาหรือไม่ แต่สำหรับ LaTeX แล้ว เราสามารถสร้าง environment ให้เป็นในแบบที่เราต้องการได้ ยกตัวอย่างถ้าเราต้องการให้รูปแบบหนังสือเรามีรูปแบบของตัวอย่างอย่างที่เห็นในรูปข้างล่าง เราจะทำอย่างไรครับ แน่นอนคุณต้องเพิ่มเส้น ปรับขนาดของ environment ให้มีขนาด 90% ของส่วนตัวหนังสือ ซึ่งแน่นอนทำได้หลายแบบ ในที่นี้จะแนะนำให้ใช้คำสั่ง newenvironment
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 |
newcounter{Examplecount} setcounter{Examplecount}{0} newenvironment{examplex}[1][] {% This is the begin code vspace{1em} begin{center} begin{minipage}[c]{.9textwidth} hrule vspace{1em} stepcounter{Examplecount} {bfsmall ตัวอย่าง thesection.arabic{Examplecount}}small { }emph{#1}{} } {% This is the end code vspace{1em} hrule end{minipage} end{center} } |
ดูรหัสโปรแกรมแล้วหลายคนต้องงง ๆ เป็นแน่ อธิบายนิดหน่อยแล้วกันครับ ในการเขียน newenvironment นั้นมีรูปแบบดังนี้
1 |
newenvironment{name}[numopt][default]{begincode}{endcode} |
name […]
Read More →